วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การเปลี่ยนแปลง (Change) ตามให้ทัน




การเปลี่ยนแปลง
คือ สิ่งเดียวที่จีรังยั่งยืน ไม่ใช่ความมั่นคงอย่างที่เข้าใจกัน บริษัทในยุคนี้ต้องก้าวเดินให้รวดเร็วกว่าเดิมเพื่อจะได้ยึดครองตำแหน่งเอาไว้ บางคนกล่าวว่า ถ้าคุณยังย่ำเท่าอยู่ในธุรกิจเดิมๆ คุณก็จะหลุดวงโคจรของธุรกิจไป แต่บางครั้งการดิ้นรนเพื่ออยู่รอดต้องอาศัยการเสียสละในบางเรื่อง เห็นได้จากบริษัทอย่างโนเกีย และฮิวเลตต์-แพคการ์ด ที่ยอมละทิ้งธุรกิจดั้งเดิมของตัวเองไป

บริษัทของคุณต้องจดจำจุดเปลี่ยนที่สำคัญทางกลยุทธให้ได้ ธนาคารต่างๆต้องมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเครื่อง ATM ถือกำเนิดและสายการบินใหญ่ๆต้องเปลี่ยนตัวเองเมื่อคู่แข่งขันใหม่ๆ ที่เป็นสายการบินราคาถูกเกิดขึ้น
สังเกตว่านักธุรกิจใน อเมริกา และ ยุโรป ตอบสนองต่อการปลี่ยนแปลงได้แตกต่างกัน ชาวยุโรปเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนำความเสี่ยงมาให้ แต่สำหรับชาวอเมริกา กลับเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนำโอกาสมาให้มากกว่า
บริษัทที่กลัวการเปลียนแปลงมากที่สดุ คือ บริษัทชั้นนำหลายๆแห่งในปัจจุบัน ในฐานะองค์การชั้นนำ บริษัทเหล่านี้ลงทุน ลงแรงไปมากมายในทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ จนกระทั่งมีแนวโน้มว่าพวกเขาจะเพิกเฉย หรือไม่พยายามกำจัดการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น เนื่องจากเป็นองค์การใหญ่ บริษัทเหล่านี้จึงคิดว่าถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้คงอยู่ตลอดไป แต่การเป็นบริษัทใหญ่โต ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าจะไม่หลุดพ้นไปจากวงจรนี้ ถ้ายังไม่อยากถูกทิ้งเอาไว้ข้างหลัง บริษัทต่างๆก็ต้องมองไปถึงการเปลี่ยนแปลง และต้องเป็นผู้นำการเปลียนแปลง องค์กรที่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้รวดเร็วกว่าคู่แข่ง ย่อมมีความได้เปรียบในการแข่งขันตามมา
แต่คุณจะเปลี่ยนแปลงบริษัทได้อย่างไร คุณจะให้พนักงานรับเอาแนวคิดใหม่ๆไปใช้แล้วยกเลิกกิจกรรมต่างๆ ที่สะดวกสบายเพื่อเปลี่ยนไปเรียนรู้กิจกรรมใหม่ๆได้อย่างไร เห็นได้ชัดว่าผู้บริหารระดับสูงต้องพัฒนาทั้งวิสัยทัศน์และภารกิจที่น่าสนใจขึ้นมา ซึ่งวิธีนี้ดูจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทมากกว่าจะก่อให้เกิดความเสี่ยง และก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารระดับสูงต้องให้การสนับสนุน และใช้การตลาดภายในองค์กร เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น

วิธีป้องกันตัวเองที่ดีเยี่ยมยอดที่สุดในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงก็คือ "สร้างบริษัทที่เติบโตมาจากการเปลี่ยนแปลง" เพื่อที่จะได้มองว่า "การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมดา และไม่ใช่เป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน" เมื่อเป็นแบบนี้บริษัทก็จะสามารถดึงดูดผู้คนทีมีทัศนคติที่เป็นบวกต่อการเปลี่ยนแปลง และยอมรับการถกเถียงอย่างเปืดเผยในทุกๆกรณี ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย กลยุทธ์ ยุทธวิธี และองค์กร สิ่งที่เลวร้ายที่สุด คือ การเป็นบริษัทที่เกลียดการเปลี่ยนแปลง บริษัทแบบนี้จะดึงดูดคคนแบบเดียวกันเข้ามา และคงมีจุดจบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ไม่มีความคิดเห็น: